สัตว์โลก

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สิงโต



สิงโตเป็นเสือขนาดใหญ่ ขนสั้นเกรียนสีน้ำตาลอ่อน บางตัวอาจมีสีออกเทาเงิน หรือบางตัวก็มีสีอมแดง หรือถึงน้ำตาลแดง ใบหน้ากว้าง ปากค่อนข้างยาว จมูกมักมีสีดำสนิท ม่านตาสีเหลืองหรืออำพัน รูม่านตากลม หูสั้นกลม หลังหูดำ ขาหน้าใหญ่และแข็งแรงกว่าขาหลัง อุ้งตีนกว้าง หางค่อนข้างยาว ปลายหางเป็นพู่สีดำ และมักมีสิ่งคล้ายเดือยแข็งอยู่อันหนึ่งซ่อนอยู่ภายในพู่หางด้วย


สิงโตเป็นสัตว์ตระกูลแมวที่มีความแตกต่างระหว่างเพศชัดเจนที่สุด ตัวผู้มีแผงคอซึ่งเป็นขนยาวหนาขึ้นบริเวณรอบคอและหัวไหล่อย่างหนาแน่นจนกลบใบหูมิด ขนแผงคอสีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีดำ บางชนิดขนแผงคอลามไปจนถึงท้อง แผงคอของสิงโตตัวผู้แต่ละพันธุ์ต่างกันมากในแต่ละพื้นที่ พวกที่อยู่ตอนบนสุดและล่างสุดของเขตกระจายพันธุ์มีแผงคอใหญ่และดกมาก อาจลามไปถึงหลังและใต้ท้อง ขนช่วยให้สิงโตมีขนาดใหญ่โตขึ้นแต่ไม่เพิ่มน้ำหนักให้มากนัก คาดว่ามีไว้เพื่อจำแนกเพศและแสดงสถานะของวัย และเพื่ออวดตัวเมียถึงความแข็งแกร่งห้าวหาญสมชาย และอาจมีประโยชน์ในการป้องกันหัวและคอในระหว่างการต่อสู้ สิงโตตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้มาก (20-50%) และไม่มีแผงคอ แผงคอของสิงโตมีลักษณะต่างกันไปในแต่ละตัวด้วย นักวิจัยในพื้นที่ก็ใช้ลักษณะของแผงคอในการจำแนกสิงโตแต่ละตัวจากระยะไกล และมีหลักฐานว่าสิงโตก็ใช้รูปร่างของแผงคอในการจำแนกสิงโตตัวผู้จากระยะไกลเช่นกัน
ในสิงโตพันธุ์เอเชีย (Panthera leo persica) แผงคอของตัวผู้มีไม่มากเท่าสิงโตแอฟริกา ผู้กับตัวเมียจึงค่อนข้างคล้ายกัน และมักยังมองเห็นหูพ้นแผงคอออกมา เอกลักษณ์อีกอย่างของสิงโตพันธุ์เอเชียก็คือ มีรอยย่นของหนังทอดยาวตลอดใต้ลำตัวซึ่งมักไม่พบในสิงโตแอฟริกา
ในอุทยานแห่งชาติครูเกอร์ของแอฟริกา สิงโตตัวผู้เต็มวัย (4 ปีขึ้นไป) มีน้ำหนัก181 กิโลกรัมตัวเมียหนัก 126 กิโลกรัม สิงโตวัยรุ่นตัวผู้ (2-4 ปี) หนัก 146 กิโลกรัม ตัวเมียหนัก 103 กิโลกรัม สิงโตตัวผู้ที่ใหญ่ที่สุดหนัก 225 กิโลกรัม ตัวเมียที่ใหญ่ที่สุดหนัก 152 กิโลกรัม ในปี 2536ที่ประเทศเคนยา เคยพบสิงโตตัวผู้ตัวหนึ่งถูกยิงตายใกล้เขาเคนยา มีน้ำหนักถึง 272 กิโลกรัม ตัวผู้มีความยาวตัวถึงหาง 3.3 เมตร
สิงโตเอเชียมีขนาดเล็กกว่าสิงโตแอฟริกา ตัวผู้เต็มวัยมีน้ำหนักประมาณ 160-190 กิโลกรัม ส่วนตัวเมียหนักประมาณ 110-120 กิโลกรัม ความยาวหัวถึงหางของตัวผู้ 2.92 เมตร
สิงโตดำและสิงโตเผือกเคยพบบ้างแต่น้อย สิงโตเผือกมักพบที่อุทยานแห่งชาติครูเกอร์ นอกจากสิงโตดำและขาวแล้ว ยังเคยมีผู้พบสิงโตขาวแบบ leucism ซึ่งเป็นความผิดปรกติที่มีขนสีขาวซีดแต่ตาและผิวหนังยังมีเม็ดสีอยู่ ต่างจากขาวแบบเผือกซึ่งไม่มีเม็ดสีเลย ใกล้อุทยานแห่งชาติครูเกอร์และเขตรักษาพันธุ์เพื่อล่าอัมโฟโลซี ในประเทศแอฟริกาใต้

ความคิดเห็น